บทที่9 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce) และ ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business:       E-Business) เป็นเรื่องที่ยังสับสนอยู่จึงมีความหมายและความแตกต่างกันของ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และ               ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ดังนี้
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce: E-Commerce) หมายถึง การใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตัวบุคคล องค์กร หรือตัวบุคคลกับองค์กร ทั้งนี้ เพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
                ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business) หมายถึง เป็นการดำเนินธุรกิจที่มีขอบเขตกว้างกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กล่าวคือ ไม่ใช่แค่การซื้อขายสินค้าและบริการ แต่ยังรวมถึงการทำธุรกรรมอื่นๆ ภายในองค์กรโดยใช้อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีอื่นด้วย ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นส่วนหนึ่งของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business)”
ความเป็นมาของ E-Commerce
E-Commerce เกิดจากแนวคิดในการโอนเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfers: EFT) ซึ่งเป็นวิธีอำนวยความสะดวกในการชำระเงินแทนการจ่ายด้วยเงินสดหรือเช็ค แต่ EFT มีข้อจำกัดที่เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่หรือสถาบันการเงิน ดังนั้นจึงมีการพัฒนารูปแบบ EFT กลายเป็น ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange: EDI)” ทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจระหว่างองค์กรทำได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
ต่อมาเมื่อกระแสเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ องค์กรต่างๆ จึงเห็นความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับ และนำมาใช้เป็นช่องทางเพื่อขยายขอบเขตของทางธุรกิจให้กว้างไกลขึ้น โดยการนำรูปแบบของ EDI มาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต พร้อมนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การใช้ภาพ เสียง และสื่อผสม (Multimedia) มาช่วยเพิ่มความสมบูรณ์แบบในกระบวนการซื้อขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค เรียกเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นมานี้ว่า การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce : E-Commerce)”
ปัจจุบัน นอกจาก E-Commerce จะสามารถทำงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถทำงานบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ได้ด้วย เช่น โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) เครื่องพีดีเอ (Personal Digital Assistant : PDA) และอุปกรณ์ไร้สายบางชนิด
คุณลักษณะสำคัญของ E-Commerce
                มีคุณลักษณะสำคัญของ E-Commerce 7 ประการ ได้แก่
การมีอยู่ทุกแห่งหน (Ubiquity) การค้าแบบเดิมขายผ่านร้านค้าจริง หากลูกค้าต้องการซื้อสินค้าจะต้องเดินทางมาซื้อที่ร้านเท่านั้น แต่E-Commerce ใช่วิธีขายผ่านร้านค้าเสมือนบนเว็บไซด์ ลูกค้าจึงไม่ต้องเดินทางมาที่ร้านค้า ยังมีการแปลงสินค้าบางชนิดที่จับต้องได้ อยู่ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ดิจิตอล (Digital Product) แทน เช่น หนังสือ ภาพยนตร์ เพลง เป็นต้น ลูกค้าจึงสามารถเลือกชม สั่งซื้อ และรอรับสินค้าได้ทันทีทุกที่และทุกเวลา จะเห็นว่า E-Commerce เปลี่ยนจากตลาดแบบเดิม (Physical Marketplace) กลายเป็น ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Marketplace)” หรือ ตลาดที่จับต้องไม่ได้ (Marketspace)”
  เข้าถึงได้ทั่วโลก (Global Reach) E-Commerce ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการทำงาน สามารถติดต่อสื่อสารเพื่อทำการค้าระหว่างประเทศผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ ทำให้ธุรกิจสามารถขยายตลาดได้ และมีกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยใช้ต้นทุนต่ำกว่าการค้าแบบเดิม
ใช้มาตรฐานเดียวกัน (Universal Standard) เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีโปรโตคอลมาตรฐานในการรับ-ส่งข้อมูล เมื่อระบบE-Commerce ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการติดต่อสื่อสาร ผู้ขายจึงมั่นใจได้ว่า ผู้ใช้จากทั่วโลกสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์
ความสมบูรณ์ของข้อมูล (Richness) การค้าแบบเดิมไม่สามารถนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อน หรือให้รายละเอียดกับลูกค้าได้มากนัก เพราะมีข้อจำกัดด้านค่าใช่จ่าย หรือเทคโนโลยีที่ใช้ เช่น การโฆษณาผ่านทางโทรทัศน์ที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็สามารถเข้าถึงลูกค้าจำนวนมาก ทำให้ลูกค้ารับชมข้อมูลได้ทั้งภาพและเสียง ส่วนการโฆษณาวิทยุมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า แต่รับฟังข้อมูลได้ในรูปแบบของเสียงเท่านั้น
 การโต้ตอบ (Interactive) E-Commerce ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย คือ ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับข้อมูลผ่านสื่อโฆษณาแล้วยังสามารถถามกลับไปยังผู้ขายผ่านทางห้องสนทนา อีเมล์ หรือกระทู้สนทนาได้ ในขณะที่การโฆษณาแบบเดิม ไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ หรือวิทยุ ผู้ซื้อจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายรับข้องมูลเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถตอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้
ความหนาแน่นของสารสนเทศ (Information Density) อินเตอร์เน็ตช่วยให้การจัดทำ ปรับปรุง หรือเผยแพร่ สารสนเทศทำได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำ ทำให้มีสารสนเทศเกิดขึ้นมากมายที่นำมาใช้ประโยชน์ได้
การปรับแต่งและการสร้างความเป็นส่วนตัว (Personalization/Customization) E-Commerce มีเทคโนโลยีที่ช่วยกำหนดกลยุทธ์การตลาดส่วนบุคคล (Personalized Marketing) โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า (User Profile) เช่น รสนิยม ความรับผิดชอบ งานอดิเรก หรือพฤติกรรมในการใช้งานบนเว็บ เป็นต้น
 ประเภทของ E-Commerce
โดย E-Commerce สามารแบ่งออกเป็นตามกลุ่มบุคคลหรือองค์กรได้หลายประเภท ดังนี้
Business-to-Business (B2B) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างองค์กรธุรกิจ (บริษัท ผู้ผลิต และตัวแทนจำหน่าย)กับองค์กรธุรกิจด้วยกันเอง เช่น การจัดซื้อ (Purchasing) การจัดจ้าง (Procurement) และการจัดการตัวแทนจำหน่าย (Supplier Management) เป็นต้น โดยที่ B2B จะมีการรวมกลุ่มของสมาชิกที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันเข้าไว้ด้วยกัน
Business-to-Consumer (B2C) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้บริโภคทั่วไป มีลักษณะเป็นการค้าแบบขายปลีก (Retail)
 Consumer-to-Consumer (C2C) เป็นการทำธุรกรรมโดยตรงระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค เช่น การขายสินค้ามือสอง การแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน และ การรับสมัครงาน เป็นต้น
 Consumer-to-Business (C2B) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างผู้บริโภคทั่วไปกับองค์กรธุรกิจ โดยผู้บริโภคจะรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่มสมาชิกหรือสหกรณ์ แล้วทำธุรกรรมกับผู้ประกอบการในนามของกลุ่มสหกรณ์ เพื่ออำนาจในการเจรจาต่อรองกับผู้ประกอบการ
 Intrabusiness E-Commerce เป็นการทำธุรกรรมที่ใช้ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Intranet) เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร การดำเนินงาน และบริการต่างๆ ระหว่างบุคลากรภายในองค์กร เช่น การส่งข้อมูลจากฝ่ายขายไปยังฝ่ายบัญชีเพื่อจัดทำงบการเงิน หรือการร่วมกันออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างแผนก เป็นต้น
Business-to-Employee (B2E) ธุรกรรมประเภทนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Intrabusiness E-Commerce แต่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเฉพาะพนักงานภายในองค์กรเท่านั้น เช่น การประชาสัมพันธ์เพื่อแจ้งข่าวการฝึกอบรมและสวัสดิการต่างๆ เป็นต้น
 Collaborative Commerce (C-Commerce) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างองค์กรธุรกิจกับผู้มีส่วนร่วมทางการค้า ได้แก่ กลุ่มคนที่ต้องปฏิสัมพันธ์ร่วมกันภายในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เช่น ผู้จำหน่ายวัตถุดิบ บริษัทขนส่งสินค้า และตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
 Electronic Government (E-Government) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับประชาชน บริษัท ห้างร้าน หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนพนักงานภายในองค์กรภาครัฐเอง
 Exchange-to-Exchange (E2E) เป็นธุรกรรมที่ใช้หลักการเดียวกับ E-Commerce คือ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สินค้า และบริการผ่านทางตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Marketplace) เป็นแหล่งชุมนุมของผู้ซื้อและผู้ขายหลายราย
 Nonbusiness E-Commerce เป็นการทำธรกรรมในหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร เช่น องค์กรทางศาสนา สถาบันการศึกษา และองค์กรทางสังคม เป็นต้น วัตถุประสงค์ของการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้ ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไรเป็นสิ่งตอบแทน เพียงแต่ต้องการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้น้อยลง
แรงผลักดันให้มีการพัฒนา E-Commerce
มี 2 ประการ คือ
การปฏิวัติสู่ยุคดิจิตอล (Digital Revolution) เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิด E-Commerce จะเห็นได้จากการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่ว่าเป็นการสนทนา ติดต่อสื่อสาร หรือค้นหาข้อมูล ล้วนนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ใช้ทั้งสิ้น ในการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ จะต้องเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลจากตัวอักษร รูปภาพ หรือเสียงให้เป็นข้อมูลแบบ ดิจิตอล (Digital)” ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างการนำเทคโนโลยีดิจิตอลไปใช้ในการทำธุรกิจ หรือเรียกว่า เศรษฐกิจแบบดิจิตอล (Digital Revolution)”
เศรษฐกิจแบบดิจิตอล (Digital Economy) หมายถึง การทำเศรษฐกิจที่มีพื้นฐานจากการนำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้งาน ได้แก่ เครือข่ายการติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอล เช่น Internet, Intranet และExtranet คอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีสื่อสารอื่น
สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment) หมายถึง ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร แบ่งออกเป็น 3 ประการ ดังนี้
2.1            แรงผลักดันทางการตลาดและสภาพเศรษฐกิจ (Market and Economic Pressure) เช่น ความรุนแรงของการแข่งขันในตลาด การรวมกลุ่มทางการค้า หรืออำนาจในการต่อรองของลูกค้า เนื่องจากลูกค้าไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้รับข่าวสาร แต่สามารถค้นหาข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบราคาได้ เป็นต้น
2.2            แรงผลักดันทางสังคม (Societal Pressure) เช่น กฎหมายหรือนโยบายของรัฐที่ส่งผลต่อธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคม จรรยาบรรณทางธุรกิจ ตลอดจนเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศนั้น เป็นต้น
2.3            แรงผลักดันทางเทคโนโลยี (Technology Pressure) เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เทคโนโลยีที่มีอยู่ล้าสมัยเร็วกว่าอายุการใช้งานจริง ปริมาณสารสนเทศที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนการผลิตด้านค่าแรงงานเพิ่มขึ้น เป็นต้น
  แบบจำลองทางธุรกิจของ E-Commerce
แบบจำลองทางธุรกิจ (Business Model) วิธีการดำเนินธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันทำให้บริษัทสมารถดำรงอยู่ต่อไปได้
โครงสร้างของแบบจำลองทางธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจแบบใดก็ตามต่างก็มีโครงสร้างของแบบจำลองทางธุรกิจที่เหมือนกัน ดังนี้
Value Proposition เป็นหัวใจสำคัญของแบบจำลองทางธุรกิจ เพื่อตอบคำถามว่า สินค้าและบริการของบริษัทจะสามารถตอบสนองความต้องการของลุกค้าได้อย่างไรบริษัทจึงต้องวิเคราะห์เพื่อหาความต้องการของลูกค้า และสิ่งที่ทำให้สินค้าหรือบริการของบริษัทแตกต่างจากคู่แข่ง
Revenue Model เป็นคำตอบคำถามว่า บริษัทมีวิธีสร้างรายได้หรือผลตอบแทนอย่างไรซึ่งวิธีสร้างรายได้ให้กับบริษัทอาจทำได้หลายลักษณะ ดังนี้
-                   Advertising Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการให้เช่าพื้นที่โฆษณา
-                   Subscription Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการให้บุคคลภายนอกเข้ามาสมัครเป็นสมาชิก
-                   Transaction Fee Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการคิดค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมการค้า
-                   Sale Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากการขายสินค้าและบริการ
-                   Affiliate Revenue Model เป็นวิธีสร้างรายได้จากค่านายหน้า หรือส่วนแบ่งทางการค้า
Market Opportunity เป็นคำตอบคำถาม ลูกค้ากลุ่มใดที่บริษัทต้องการนำเสนอสินค้าและบริการ รวมทั้งตลาดดังกล่าวมีขนาดเท่าใดโดยวิเคราะห์หาแนวโน้มของกลุ่มลูกค้าที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท และส่วนแบ่งทางการตลาด
Competitive Environment เป็นการตอบคำถามว่า บริษัทมีคู่แข่งรายใดบ้างซึ่งคู่แข่งในที่นี้นอกจากจะเป็นคู่แข่งโดยตรง (Direct Competitor) ที่ผลิตสินค้าและบริการเพื่อเสนอขายในตลาดเดียวกับบริษัท
Competitive Advanagde เป็นคำตอบคำถามว่า บริษัทมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขันด้านใดบ้าง และสามารถนำมาใช้ได้อย่างไรข้อได้เปรียบนี้อาจมีหลายลักษณะ

                   สรุป

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) [1] หรือ พาณิชยกรรมออนไลน์ หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพื่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ให้ความหมาย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็น ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
ตัวอย่างเช่น นายสมชายเปิดร้านขายสินค้าโอท็อป ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ สามารถเข้ามาดูตัวอย่างสินค้า และติดต่อซื้อขายกันได้ โดยผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
เทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น โดยมีกฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เข้ามาคุ้มครองเรื่องความปลอดภัย และยังมีกฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาให้ความคุ้มครองด้วยในเรื่องของการเงิน

                   อ้างอิงโดย

           https://www.facebook.com/notes/loki-chan/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น